มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม เดิมเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย
ประวัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของ ประเทศไทย
อันดับมหาวิทยาลัย การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในอันดับที่ 1,254 ของโลก อันดับที่ 44 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 14 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตราประจำมหาวิทยาลัย สีเหลือง-เทา สีประจำมหาวิทยาลัย ต้นราชพฤกษ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
- ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ตราโรจนากร ซึ่งมีความหมายว่า ดวงตาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ
- สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา
- วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม มมส คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร คณะ/วิทยาลัย/หน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน
ภายในมีภาพสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิดซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี
พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว"' หมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา
องค์พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี
สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน
ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์
สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา
สีเหลือง - เทา จึงหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะการบัญชีและการจัดการ
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
- บัณฑิตวิทยาลัย
- สำนักศึกษาทั่วไป
- สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
- ศูนย์พัฒนาภาษา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะเทคโนโลยี
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์
- คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
- คณะวิทยาการสารสนเทศ ดูอาคารสำนักงานตึกคณะฯ
- สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์
- คณะเภสัชศาสตร์
- คณะสาธารณสุขศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์
- สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช สำนัก/สถาบัน
- สำนักวิทยบริการ
- สำนักคอมพิวเตอร์
- สำนักบริการวิชาการ
- สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
- สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
- สถาบันขงจื๊อ
- สำนักงานอธิการบดี
- กองกลาง
- กองแผนงาน
- กองการเจ้าหน้าที่
- กองกิจการนิสิต
- กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
- กองคลังและพัสดุ
- กองบริการการศึกษา
- กองทะเบียนและประมวลผล
- กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
- กองอาคารสถานที่
- สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่
- พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สภาคณาจารย์
- หน่วยตรวจสอบภายใน
- ศูนย์ฝึกอบรมศาสตร์และศิลป์การเรียนรู้ทางการศึกษา
- อาคารชุดที่พักอาศัยบุคลากร
ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ