ธนาคารแห่งประเทศไทย
1. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์การของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจในการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 และมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดูแลให้กลไกของตลาดเงินภายในประเทศดำเนินการอย่างราบรื่น และให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ส่วนงานที่ทำหน้าที่อันเป็นงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ส่วนงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย และสาขาธนาคาร
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทหลายประการได้แก่ การออกและพิมพ์ธนบัตร การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ การควบคุมธนาคารพาณิชย์ การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน การพัฒนาตลาดเงินและตลาดเงินตราต่างประเทศ และการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล
อำนาจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย
อำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่
1. การออกและจัดการรวมตลอดถึงพิมพ์ธนบัตรและบัตรธนาคาร และการจัดการทุนสำรอง
2. การซื้อขายและรับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการค้าหรือพาณิชย์อันสุจริต และจากการอุตสาหกรรมบางประเทศ
3. การดำเนินกิจการ การเงินระหว่างประเทศ
4. การดำเนินกิจการแห่งระบบหักบัญชีระหว่างธนาคาร
5. การเป็นนายธนาคารและเป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล
หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2. หน้าที่ในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. หน้าที่ในการดูแลให้กลไกของตลาดการเงินภายในประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น
4. หน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ
จากอำนาจหน้าที่ดังกล่าว มีส่วนช่วยให้ประเทศมีทุนและเงินออมเพียงพอที่จะใช้จ่าย ช่วยให้เกิดเสถียรภาพทางการเงิน ไม่ทำให้ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปมาก อันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
การจัดแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
การแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นประเภทของหน้าที่ อาจแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ส่วนงานที่ทำหน้าที่อันเป็นงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง
2. ส่วนงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย
3. สาขาธนาคาร
บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. บทบาทในการออกและพิมพ์ธนบัตร
2. บทบาทในการเป็นนายธนาคารพาณิชย์
3. บทบาทในการควบคุมธนาคารพาณิชย์
4. บทบาทในการเป็นนายธนาคารของรัฐบาล
5. บทบาทในการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน
6. บทบาทในการพัฒนาตลาดเงินและตลาดเงินตราต่างประเทศ
7. บทบาทในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น