นางสาวเสาวลักษณ์ พรมทา 52010916279_G4

ปฎิทิน

บล็อกนี้ได้จัดทำำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเหตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

กลต.



สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์


     สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป


ประวัติ

     พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้รับการตราขึ้นและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ตลาดทุนมีการพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางที่เอื้อ ประโยชน์ต่อการระดมทุนและการลงทุน ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน โดยมี คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน

     พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ได้รับการตราขึ้นเพื่อให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตัวกลางที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน รวมทั้งให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลนโยบายและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2547


อำนาจและหน้าที่
     สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มอบหมาย และกำกับดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งรับผิดชอบการดำเนินงานประจำวันในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติคำขอต่าง ๆ และพิจารณาการกระทำที่อาจเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
ภารกิจและแผนงาน

ภารกิจหลักของสำนักงาน ก.ล.ต. มีดังนี้
-ดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาดทุน
-คุ้มครองนักลงทุน
-เอื้ออำนวยให้เกิดนวัตกรรมในตลาดทุน
-ส่งเสริมการแข่งขัน
-การกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน

สำนักงาน ก.ล.ต. แบ่งโครงสร้างการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนออกเป็น 6 ด้านหลัก ดังนี้
1.การกำกับดูแลการออกหลักทรัพย์และครอบงำกิจการ
2.การกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์
3.การกำกับดูแลธุรกิจจัดการลงทุน
4.การกำกับดูแลธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
5.การกำกับดูแลตลาดรอง
6.การตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมาย

แผนกลยุทธ์ปี 2553 – 2555
     ในแผนกลยุทธ์ปี 2553 – 2555 ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน ก.ล.ต.โดยมุ่งเน้นงาน 5 ด้านหลัก คือ
1.การเชื่อมโยงกับต่างประเทศ
2.การขจัดการผูกขาด
3.การผลักดันและสนับสนุนนวัตกรรม
4.การปรับปรุงการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมาย
5.การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนแก่ประชาชน

คำขวัญ (motto)

    ก.ล.ต. เกื้อหนุนธุรกิจ ปกป้องสิทธิ์ผู้ลงทุน นำตลาดทุนสู่สากล

โครงสร้างองค์กร

     สำนักงานได้จัดโครงสร้างองค์กร ตามผังการจัดองค์กรและรายชื่อผู้บริหาร ดังนี้
คณะกรรมการ ก.ล.ต.
     มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นตัวแทนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้
ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปลัดกระทรวงการคลัง และ ปลัดกระทรวงพาณิชย์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง โดยผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 6 คน โดยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การบัญชี และการเงินด้านละ 1 คน
เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นกรรมการและเลขานุการ

รายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. (ณ 17 สิงหาคม 2554)
นางสาวนวพร เรืองสกุล ประธานกรรมการ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการ
นายยรรยง พวงราช กรรมการ
ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ
นายนนทพล นิ่มสมบุญ กรรมการ
นายกำชัย จงจักรพันธ์ กรรมการ
นางพรรณี สถาวโรดม กรรมการ
นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการ
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ กรรมการ
นายชาลี จันทนยิ่งยง (รักษาการเลขาธิการ) กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการกำกับตลาดทุน

     มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์ในระดับที่เป็นการปฏิบัติ โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความชำนาญในภาคธุรกิจร่วมอยู่ด้วย เพื่อให้ประกาศหลักเกณฑ์ที่ออกมาสอดคล้องและไม่เป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติ ทั้งนี้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีความเป็นอิสระ ไม่ดำรงตำแหน่งใดๆ ในหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.

คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกอบด้วย
เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นประธานกรรมการ
รองเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย 1 คน
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือรองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมาย 1 คน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งอีกไม่เกิน 4 คน ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์
พนักงานของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้ง 1 คน เป็นเลขานุการ

รายชื่อคณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ณ 17 สิงหาคม 2554)
นายชาลี จันทนยิ่งยง (รักษาการ) ประธานกรรมการ
นายวสันต์ เทียนหอม กรรมการ
ดร. นริศ ชัยสูตร กรรมการ
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ กรรมการ
ม.ล. ผกาแก้ว บุญเลี้ยง กรรมการ
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการ
นางดัยนา บุนนาค กรรมการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น