นางสาวเสาวลักษณ์ พรมทา 52010916279_G4

ปฎิทิน

บล็อกนี้ได้จัดทำำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเหตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระราชประวัติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2327 - 2352)



      พระนามเดิม ทองด้วง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระอักษรสุนทรทองดี) ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2279 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ ได้สมรสกับธิดาคหบดีบ้านอัมพวา ตำบลบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในพ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ได้กู้อิสรภาพและสร้างกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้เข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงพระปรีชาสามารถในการรบจนเป็นที่โปรดปราน นับเป็นขุนพลคู่พระทัยฝ่ายขวา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพในสงครามครั้งสำคัญหลายครั้ง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึก ใน พ.ศ. 2319
พ.ศ. 2325 เกิดจลาจลขึ้นในบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงปราบปรามจนราบคาบ ข้าราชการทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ต่อมาโปรดให้สร้างราชธานีใหม่ขึ้น ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานคร ทรงย้ายมาประทับในพระนครใหม่ใน พ.ศ. 2327 พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ในรัชกาลได้แก่การสงครามเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุด คือ สงครามเก้าทัพ ในปี พ.ศ. 2327 การปกครองประเทศทรงจัดแบ่งตามแบบกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้ ชำระกฎหมายบทต่างๆ ให้ถูกต้องและจารลงสมุดไว้เป็นหลักฐาน 3 ฉบับ
ทางด้านศาสนา โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามและพระพุทธรูปต่างๆ เป็นอันมาก
ทางด้านวรรณคดีและศิลปกรรม ทรงฟื้นฟูวรรณคดีไทยซึ่งเสื่อมโทรมตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกให้ กลับคืนดีอีกวาระหนื่ง ทรงส่งเสริมและอุปถัมภ์กวีในราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ เช่น บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น งานทางด้านศิลปกรรมนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้าง พระอารามเป็นจำนวนมาก เป็นการเปิดโอกาสให้ช่างฝีมือด้านต่างๆ มีงานทำและได้ผลิตงานฝีมือชิ้นเอกไว้ปัจจุบันมีวันที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือ วันที่ระลึกมหาจักรี ได้แก่วันที่ 6 เมษายนของทุกปี จะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2310 - 2367)



     มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอม รินทราบรมราชินี ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เมื่อยังทรง พระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยในสำนักสมเด็จพระวนรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ ด้านวิชาการรบ สำหรับขัตติยราชกุมารนั้น พระองค์ได้ทรงศึกษาจากประสบการณ์ที่เป็นจริง กล่าวคือได้ทรงตามเสด็จ พระบรมชนกนาถไปในราชการสงครามทุกครั้ง ซึ่งพระปรีชาสามารถและความจัดเจนนี้ย่อมเป็นที่ ประจักษ์ จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นกรมพรราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชแทน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระ องค์ที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. 2352
พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงเริ่มทำเร่งด่วนครั้งแรกคือ การรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ตั้งแต่ครั้ง กรุงแตกให้อยู่ตั้งมั่นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศ โดยออกพระราชกำหนดสักเลข และ ทำทะเบียนราษฎรอย่างจริงจัง และได้ทรงผ่อนผันการเข้าเดือนเหลือเพียงปีละ 3 เดือน คือ เข้าเดือนออก สามเดือน นอกจากนี้ยังได้ทรงออกกฎหมายฉบับสำคัญอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า พระราชกำหนดเรื่องห้าม สูบฝิ่น ขายฝิ่น
ในการทำนุบำรุงความเจริญของบ้านเมืองก็มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ และได้มีการแต่ง สำเภาไปค้าขายยังเมืองต่างๆ และเมืองจีนมากขึ้น ทำให้การเศรษฐกิจของชาติดีขึ้นมาก และเหตุที่มีการ แต่งเรือสำเภาไปค้าขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เกิดการใช้ธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำสัญญลักษณ์ช้างเผือกสำคัญที่ได้มาสู่พระบารมี 3 เชือก ประทับลงบนธงสีแดง ธงประจำชาติไทยจึงมีขึ้นเป็นครั้งแรก  ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุง ตลอดจนทรงเป็นกษัตริย์ศิลปินโดยแท้จริง


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2394)



     มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2330 ต่อมาได้รับ สถาปนาพระอิสริยยศ เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติราชการมาตั้งแต่ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ยังดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ต่างพระเนตรพระกรรณหลายประการ พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงบำเพ็ญในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ ราชการในกรมท่าซึ่งมีหน้าที่ด้านการค้าและสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เงินผลประโยชน์ จากการค้าสำเภาของพระองค์ครั้งนี้ ต่อมาได้นำมาใช้ในภาวะคับขันของบ้านเมือง ด้านการป้องกันพระนคร ได้ทรงเป็นแม่กองอำนวยการสร้างป้อมปราการ ด้านชายทะเลตะวันออก และเป็นแม่ทัพยกไปตีขัดตาทัพพม่า ที่ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลา 1 ปี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติใน พ.ศ. 2367 ทรงทำนุบำรุง ประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ โปรดให้ปรับปรุงการค้าขายกับต่างประเทศ และ ระเบียบวิธีการเก็บภาษีอากรต่างๆ ด้านความมั่นคง โปรดให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองสำคัญและ ตามชายฝั่งทะเล ตลอดจนต่อเรือรบเรือกำปั่นไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการปราบปราม ผู้ก่อความไม่สงบต่อแผ่นดินอย่างเด็ดขาด เป็นต้นว่า การปราบปรามเวียงจันทน์ ญวน และหัวเมืองปักษ์ ใต้ ทั้งยังทรงยกฐานะหมู่บ้านต่างๆ ขึ้นเป็นเมืองเพื่อขยายความเจริญในการปกครอง ด้านศาสนา ทรง บำเพ็ญพระราชกุศลเป็นนิจ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการสอนพระ ปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ และโปรดให้จารึกสรรพตำราต่างๆ 8 หมวดบนแผ่นศิลา ประดับไว้ ณ ศาลาราย ในวัดพระเชตุพนฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน เสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ด้าน วรรณกรรมนั้นทรงเป็นกวีด้วยพระองค์เอง และทรงส่งเสริมผู้มีความรู้ด้านนี้ ส่วนงานด้านศิลปกรรมนับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม มีผู้กล่าวว่า ลักษณะศิลปกรรมในรัชกาลที่ 3 เป็นแบบที่งดงามยิ่ง เพราะหลังจากนี้ศิลปกรรมไทยรับอิทธิพลศิลปตะวันตกมากเกินไป
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงสิริราชสมบัติได้ 26 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2393 ปีกุน (จุลศักราช 1212) พระชนมายุ 63 พรรษา


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411)


     ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อพระชน มายุ 13 พรรษา ประกอบพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่ หลังจากนั้นทรงผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาสำหรับกษัตริย์ทั่วไป เช่น การฝึกหัดอาวุธ วิชาคชกรรม พระองค์ทรงสนพระทัย ในการศึกษาภาษาต่างประเทศอย่างมาก เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบททรงผนวชอีกครั้ง และการทรงผนวชครั้งนี้ ต้องทรงผนวชอยู่นานตลอดรัชกาลที่ 3 ระหว่างทรงผนวช จำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส ได้ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างชำนิชำนาญ เช่น วิชาการ โหราศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนทรงแตกฉานในพรไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ขณะทรงผนวชทรงพิจารณาเห็นการปฏิบัติสงฆ์หย่อนยาน จึงทรงตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่สงฆ์ที่เคร่งครัดการปฏิบัติต่อไป
ใน พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวง ได้พร้อมกันอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งบรมราชจักรีวงศ์
หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ผู้เริ่มศักราชการติดต่อกับนานาอารยประเทศทั้งปวงอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้จากการ ที่ประเทศต่างๆ ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และติดต่อค้าขาย และพระองค์ได้ทรงแต่งคณะทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีตอบแทนหลายครั้ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส เดน มาร์ค ฯลฯ ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาศิลปวิทยาการใหม่ๆ เช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การฝึกทหารอย่างยุโรป การยกเลิกธรรมเนียมที่ล้าสมัยบางประการ เช่น ประเพณีการเข้าเฝ้าให้ใส่เสื้อเข้าเฝ้า การให้ประชาชนเฝ้าแหนรับเสด็จตลอดระยะรายทางเสด็จได้ ฯลฯ พระปรีชาสามารถส่วนพระ องค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ วิชาการด้านโหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทรงสามารถคำนวณระยะเวลา การเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ดังได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระราชอาคันตุกะทั้งปวง ไปชม สุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2411
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเสวยสวรรยราชสมบัติอยู่ 18 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 15 ค่ำ จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411) สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)


      ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัยศึกษาพระธรรมวินัย ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 และเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะทรงมี พระชนมพรรษาเพียง 16 ปี โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราช การแทนพระองค์ จนทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2416 เสด็จ ครองราชย์นานถึง 42 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นนักปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ จากแบบเก่ามาสู่แบบใหม่ ทรงเป็นผู้นำในการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบสังคม และ ระบอบการปกครองของไทยให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เช่น ทรงยกเลิกประเพณีการเฝ้าแหนแบบโบราณ มาเป็นการยืนถวายบังคมแบบตะวันตก ทรงยกเลิกการไต่สวนพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาลมาเป็นการไต่สวนพิจารณาคดีในศาลแบบปัจจุบัน ทรงยกเลิกระบบทาสได้อย่างละมุนละม่อม ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นทั้งในพระบรมมหาราชวังและตามวัดต่างๆ โปรดให้ ปรับปรุงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น การประปา การรถไฟ และการไปรษณีย์-โทรเลข ทางด้านศาสนา ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองโดย เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน มีชวา สิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อทรงศึกษาการปกครองแบบตะวันตกที่ นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศตะวันออก แล้วทรงปรับปรุงการปกครองของไทยให้ทันสมัย โดยทรงแบ่ง ส่วนราชการการบริหารราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นมณฑล พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงดำเนินวิเทโศบายอย่างสุขุม คัมภีรภาพ ทรงผ่อนปรน ยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ประเทศมหาอำนาจที่แสวงหาอาณานิคมอยู่ในขณะนั้น เพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้ ทรงเป็นที่รักของประชาชนทุกชั้น จนทรงได้รับพระสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิย มหาราช”
ทรงเลิกทาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิ คุณแก่พสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเห็นการณ์ไกล และตระหนักในความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข ของบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเป็นผลสำเร็จได้ต้องทำให้คนไทยได้เป็นไท ไม่มีทาสอีกต่อไป พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการเลิกทาสโดยมิให้กระทบกระเทือนถึงเจ้าของทาสและทาส ด้วยพระราช หฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะอย่างยิ่งเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จลงตามพระราช ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้
การเสด็จประพาสต้น
เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระทัยในทุกข์สุข ของอาณาประชาราษฎร์คือ การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างง่ายๆ โดยไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองจัดทำที่ประทับแรม เมื่อพอพระราชหฤทัยจะประทับที่ใดก็ประทับที่นั้น บางครั้งก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไป โดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ ทำให้ได้ประทับปะปนในหมู่ ราษฎร ทรงทราบทุกข์สุขของราษฎรจากปากราษฎรโดยตรง ทำให้ได้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากให้ ราษฎรของพระองค์ได้ผลโดยตรง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 - 2468)



     ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงศึกษาภาษาไทยอย่างแตกฉาน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2436 ขณะทรงมีพระชนม์พรรษาเพียง 14 ปี ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เสด็จนิวัติคืนสู่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2445 รวมเวลาประทับ ณ ประเทศอังกฤษถึง 9 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จครองราชย์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สวรรคต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมสิริราชสมบัติ 16 ปี พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายการปกครองสืบต่อจาก สมเด็จพระบรมชนกนาถ ในรัชสมัยของพระองค์ การศึกษาของชาติเจริญก้าวหน้ามาก ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย การพระศาสนาเจริญสูงขึ้น ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และขยายการศึกษาของสงฆ์ให้กว้างขวาง การคมนาคม เช่น การรถไฟ สะดวกสบายขึ้นมาก ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ อย่างถูกต้อง เห็นการณ์ไกล โดยทรงนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารเข้าช่วยฝ่ายสัมพันธ มิตรรบในสมรภูมิยุโรป ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และยังทำให้ประเทศได้รับผลประโยชน์ ด้านต่างๆ ในฐานะประเทศชนะสงคราม พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงบำรุงกำลังรบและปลุกใจ พลเมืองให้รักชาติ ทรงวางระเบียบแบบแผนการทหารแบบยุโรป ทรงจัดตั้งกองทัพอากาศเพิ่มขึ้นอีก กองทัพหนึ่ง ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและกองลูกเสือเพื่อปลุกใจพลเมืองให้รักชาติ นอกจากจะทรงเป็นนักการปกครองที่เล็งเห็นการณ์ไกลแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ ดังจะเห็นได้ จากพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดในทุกด้าน เช่น ปลุกใจเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร โคลงสยามานุสติ เป็นต้น รวมเป็นพระราชนิพนธ์เกินกว่า 200 เรื่อง สมดังที่มหาชนชาวไทยถวายพระนามว่า “พระมหาธีรราชเจ้า”
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่าราษฎรเบื่อหน่ายการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็โปรดให้สร้างบ้านเมืองจำลองขึ้นเรียกว่า “ดุสิตธานี” เพื่อเป็นโรงเรียนสอน เสนาบดีและอำมาตย์ราชบริพารให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย ทรงโปรดให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมร่างกฎหมายปกครองท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลอย่าง แท้จริง แต่เสนาบดีบางท่านเห็นว่ากฎหมายนี้ให้สิทธิแก่ราษฎรกว้างขวางเกินไป เรื่องจึงค้างพิจารณา จน กระทั่งเสด็จสวรรคต


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)


      ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม “สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย”
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ครั้นเจริญวัยทรงศึกษาวิชาการทหารม้าปืนใหญ่ แห่งกองทัพอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ต่อมาได้ไปศึกษาวิชา ฝ่ายเสนาธิการ ประเทศฝรั่งเศส ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2460 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งในกองทัพบก ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และผู้บังคับการพิเศษทหารปืน ใหญ่ที่ 2 ระยะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมผู้ สืบราชสมบัติต่อ ซึ่งตกแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2467 ทรงได้ศึกษาวิชา การปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดิน ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมและหน้าที่ราชการของพระเจ้าแผ่น ดินจากหนังสือราชการที่สำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ตระหนักว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างแจ่มชัดมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ยังมิได้เป็นทางการ เท่านั้น
ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงมีพระราชกรณียกิจสรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลย์อย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน
การศึกษา ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับเด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้
การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้านการปกครอง ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราช ทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวใน โลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวมเวลาครองราชย์ 9 ปี พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489)


     ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี พระองค์ไม่เพียงแต่ทรงพระราชสมภพในต่างประเทศ เท่านั้น หากยังทรงต้องประทับอยู่ต่อมา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนก และพระราชชนนี เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชชนก ประทับทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ในขณะนั้น ทรงศึกษาวิชาเบื้องต้นในประเทศไทย แล้วเสด็จไปทรงศึกษา ต่อ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ทรงขึ้นครองราชยสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 นั้น คณะรัฐบาลด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร จึงอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราช ขณะทรงมีพระชนมายุ 9 พรรษา โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระราชกรณียกิจ
ระหว่างประทับทรงศึกษาอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันท มหิดลได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2481 และปี พ.ศ. 2488 ถึงแม้จะทรง เป็นยุวกษัตริย์ แต่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยได้อย่างดียิ่ง ทรงโปรดที่จะ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง เพื่อทรง เยี่ยมประชาชนชาวจีนและอินเดียในบริเวณนั้น เป็นผลให้ความแตกแยกระหว่างประชาชนชาวไทยและจีน ซึ่งมีขึ้นก่อนหน้านั้นระงับไปได้ด้วยพระปรีชาอันสามารถ
สวรรคต
ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งที่ 2 นั้น โดยมิได้คาดฝันพระองค์เสด็จสวรรคต เพราะถูกพระแสงปืน ณ พระแท่นบรรทมในพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากเสวยราชสมบัติอยู่เป็น เวลา 12 ปีเท่านั้น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9


     ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงศึกษาวิชาสามัญชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี แล้วเสด็จไปประทับและศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ ในปี พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย ประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 จึง ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ จากนั้นทรงเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จากนั้นทรงเสด็จไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับ พ.ศ. 2494 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราช ทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์
ทางด้านสังคม เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯ
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
ด้านศาสนา ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุง ศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า และการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ ด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากฐานะของพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติทรงเป็นประมุข ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการปกครอง ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชน เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หรือ ความไม่มั่นใจในชาติ ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยามที่เดือดร้อนที่สุด ประชาชนก็ไปขอ รับพระราชทานความร่มเย็นจากพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา



ประวัตินายกหญิงคนแรกของประเทศไทย


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(ชื่อเล่น: ปู) (21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28, คนปัจจุบัน และหญิงคนแรกของประเทศไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสังกัดพรรคเพื่อไทย                                                                
              ยิ่งลักษณ์ เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งคู่ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัท เอสซีแอสเซต จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)                                                                   

ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม
ทว่ายิ่งลักษณ์กลับไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยทันที เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในวันดังกล่าว และหลังจากนั้นอีกสามวัน จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 

ครอบครัว

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 10 คน ของ เลิศ ชินวัตร และยินดี ชินวัตร (ธิดาในเจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงวงศ์) โดยเคยติดตามเลิศ ชินวัตร ในสมัยที่บิดาหาเสียงในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเยาวลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ยิ่งลักษณ์ ใช้ชีวิตคู่โดยไม่ได้จดทะเบียนกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและอดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนชื่อ ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือไปค์


การศึกษา

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533


การทำงาน

เมื่อปี พ.ศ. 2534 ยิ่งลักษณ์ได้เข้าทำงานที่บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จนกระทั่งสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา จากนั้น พ.ศ. 2537 จึงเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เน22ชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2545 เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้าย
หลังจากตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้นเธอได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2548 เพื่อบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของตระกูล โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนบุษบา ดามาพงศ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เคยตำแหน่งที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศ ของวุฒิสภา ปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม
การเมือง
พรรคเพื่อไทย
นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งพรรคเพื่อไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ยิ่งลักษณ์ได้กลายมาเป็นตัวเลือกแรกของพันตำรวจโททักษิณที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ได้ปฏิเสธตำแหน่งโดยกล่าวว่าตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรีและเพียงต้องการแต่สนใจทำธุรกิจของตนเท่านั้น เธอกล่าวว่าเธอเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้งเฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น ยงยุทธ วิชัยดิษฐจึงได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแทน
การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2554 เปิดเผยว่าระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 อดีตรองนายกรัฐมนตรีและ "พันธมิตรใกล้ชิดกับพันตำรวจโททักษิณ" สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กล่าวแก่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย อีริก จอห์น ว่าเขาไม่ได้คิดว่ายิ่งลักษณ์จะมีบทบาทสำคัญในพรรคเพื่อไทย และว่า "ตัวทักษิณเองไม่ได้กระตือรือร้นที่จะยกเธอให้สูงขึ้นภายในพรรค และมุ่งให้ความสำคัญในการหาทางให้เขายังมีส่วนร่วมในทางการเมืองอยู่มากกว่า" อย่างไรก็ตาม โทรเลขภายในต่อมา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เอกอัครราชทูตหมายเหตุว่าในการประชุมกับยิ่งลักษณ์ เธอพูดด้วยความมั่นใจเกี่ยวกับ "ปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย" ของพรรคเพื่อไทย และดูเหมือนว่าจะมี "ความมั่นใจมาก" ขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อนมาก โทรเลขภายในอ้างถึงยิ่งลักษณ์โดยกล่าวว่า "บางคนสามารถปรากฏออกมาค่อนข้างช้าในเกมเพื่อจะควบคุมพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป"


ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย

ปลายปี พ.ศ. 2553 ยงยุทธได้แสดงเจตจำนงว่าจะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค การคาดการณ์ว่าจะมีการเลือกตั้งกระทันหันในช่วงต้นปี พ.ศ. 2554 ได้เพิ่มการโต้เถียงภายในพรรคเกี่ยวกับตัวผู้ที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ตัวเต็งคือยิ่งลักษณ์กับมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้ซึ่งนำการอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลผสมซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ยังคงไม่ยอมรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยย้ำว่าเธอต้องการมุ่งความสนใจไปยังการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตามเธอได้รับการหนุนหลังจากนักการเมืองอาวุโส เฉลิม อยู่บำรุง
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติเลือก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 1 ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตาม เธอยังไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคและไม่ได้เข้าร่วมกรรมการบริหารพรรค การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเป็นของพันตำรวจโททักษิณ โดยพันตำรวจโททักษิณให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า "เธอเป็นโคลนของผม" และ "เธอสามารถตอบ 'ใช่' หรือ 'ไม่' ในนามของผมได้"
ยิ่งลักษณ์ระบุว่าการออก พระราชบัญญัติอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมที่เสนอโดย ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุงนั้น "เป็นเพียงหลักและวิธีการ โดยหลักของส่วนนี้ต้องมาดูว่าจะได้อะไร และต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณา โดยมี ร้อยตำรวจเอกเฉลิม เป็นหัวเรือ" ร้อยตำรวจเอกเฉลิมระบุว่าความคิดนิรโทษกรรมไม่ได้ให้ พันตำรวจโททักษิณเพียงคนเดียว แต่จะให้ทุกคน


การรณรงค์เลือกตั้ง

ความปรองดองเป็นธีมหลักในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของยิ่งลักษณ์ หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่กินเวลามาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เธอสัญญาว่าจะให้อำนาจแก่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) คณะทำงานซึ่งรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนผู้เสียชีวิตในระหว่างการชุมนุมทางการเมือง คอป. เคยแสดงว่างานของคณะกรรมการถูกขัดขวางโดยทหารและรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ยังได้เสนอนิรโทษกรรมทั่วไปแก่อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเมืองทั้งหมดที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งรวมไปถึงรัฐประหารครั้งนั้นด้วย คำพิพากษาที่ห้ามมิให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และการยึดทำเนียบรัฐบาลและท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) การสลายการชุมนุมของทหารในปี พ.ศ. 2552 และ 2553 และการพิพากษาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรว่าละเมิดอำนาจ ข้อเสนอดังก่าวถูกโจมตีอย่างรุนแรงโดยรัฐบาล ซึ่งกล่าวว่าอาจเป็นไปได้ว่าจะเป็นการนิรโทษกรรมเฉพาะพันตำรวจโททักษิณ และจะส่งผลให้เขาได้รับทรัพย์สินมูลค่า 46,000 ล้านบาทที่เคยถูกพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินคืน อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธว่าเธอไม่มีเจตนาจะนิรโทษกรรมแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง รัฐบาลยังได้กล่าวโทษพรรคเพื่อไทยว่าเป็นต้นเหตุของการนองเลือดระหว่างการสลายการชุมนุมของทหาร
ยิ่งลักษณ์ได้อธิบายวิสัยทัศน์ 2020 ว่าจะกำจัดความยากจน เธอสัญญาว่าจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% และลดถึง 20% ภายในปี พ.ศ. 2556 และเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน และค่าแรงขั้นต่ำสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน นโยบายด้านการเกษตรของเธอรวมไปถึงการเพิ่มกระแสเงินสุดจากการดำเนินงาน (operating cashflow) ให้แก่ชาวนา และจัดหาเงินกู้ที่สามารถกู้ได้มาที่สุดถึง 70% ของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ โดยอาศัยราคจำนำข้าว 15,000 บาทต่อตัน เธอยังได้วางแผนที่จะจัดเตรียมวายฟายสาธารณะและแท็บเบล็ดพีซีแก่เด็กนักเรียนทุกคน ซึ่งครั้งหนึ่งพรรคไทยรักไทยมีแผนที่จะทำ แต่ถูกยกเลิกไปเพราะรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549
โพลสำรวจความคิดเห็นก่อนการเลือกตั้งเกือบทั้งหมดทำว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะเหนือประชาธิปัตย์อย่างถล่มทลาย


ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล

ผลเอกซิตโพลชี้ว่าพรรคเพื่อไทยชนะอย่างถล่มทลาย โดยคาดว่าจะได้ที่นั่งสูงถึง 310 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ผลอย่างเป็นทางการออกมาว่าพรรคเพื่อไทยได้ 265 ที่นั่ง โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ 75.03% มีบัตรเสียจำนวน 3 ล้านบัตร ซึ่งจำนวนที่มากนี้ถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุของความแตกต่างระหว่างผลเอกซิตโพลกับการนับคะแนนอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้นที่พรรคการเมืองหนึ่งจะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าครึ่ง โดยครั้งแรกเป็นพรรคไทยรักไทยของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์จัดตั้งรัฐบาลผสมอย่างรวดเร็วกับพรรคชาติไทยพัฒนา (19 ที่นั่ง) ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (7 ที่นั่ง) พลังชล (7 ที่นั่ง) มหาชน (1 ที่นั่ง) และพรรคประชาธิปไตยใหม่ (1 ที่นั่ง) รวมแล้วมี 300 ที่นั่ง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ กล่าวว่าเขายอมรับผลการเลือกตั้ง และหลังจากที่ได้พูดคุยกับผู้บัญชาการเหล่าทัพแล้ว จะไม่เข้ามาแทรกแซงการเมือง ด้านผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งโดยปกติแล้วจะให้สัมภาษณ์วิจารณ์พรรคเพื่อไทย ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์ใดๆ

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ดูบทความหลักที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 ของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎรมีมติ 296 ต่อ 3 (งดออกเสียง 197 ไม่เข้าประชุม 4) เลือกยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแม้ว่าจะมีภารกิจเร่งด่วนหลายประการ ที่นายกรัฐมนตรีจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่รัฐบาลชุดก่อนวางเฉยต่อการช่วยเหลือประชาชน เพราะอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง แต่ทว่ายิ่งลักษณ์ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยทันที เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในวันดังกล่าว แม้ว่าข้าราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดเตรียมพิธีรับพระบรมราชโองการไว้พร้อมแล้ว ณ อาคารที่ทำการพรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันดังกล่าว ถัดมาอีกสามวัน จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม แต่ในพระบรมราชโองการลงวันที่ประกาศว่าเป็นวันที่ 5 สิงหาคม
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
อนึ่ง ในระหว่างนั้น วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินลงมาทรงปลูกต้นศรีตรัง พระราชทานแก่โรงพยาบาลศิริราช
การซื้อขายหุ้นชินคอร์ป

ดูบทความหลักที่ กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
พันตำรวจโททักษิณขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับ ยิ่งลักษณ์ เมื่อ พ.ศ. 2543 จำนวน 2 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท ซึ่งขณะนั้นราคาหุ้นดังกล่าวที่ซื้อขายกันในตลาดมีมูลค่า 150 บาท ทำให้ ยิ่งลักษณ์ได้ผลประโยชน์หรือส่วนต่างประมาณ 280 ล้านบาท โดยเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ส.ว.กทม. ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาสอบสวนเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตในขณะนั้น แถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548 ว่า "จากการคำนวณของกรรมาธิการฯ พบว่ากรณียิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อช่วงเดือนกันยายน ปี 2543 จะต้องเสียภาษีและเบี้ยปรับประมาณล้าน 300 ล้านบาท รวมทั้งหมดที่ต้องเสียภาษีและค่าปรับจนถึงวันที่ 30 กันยายน ปี 2548 เป็นเงิน 4,330 ล้านบาท"
ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปครั้งประวัติศาสตร์กว่า 70,000 ล้านบาท ให้กับกลุ่มเทมาเส็กเพื่อขจัดข้อครหาผลประโยชน์แฝงในการบริหารประเทศของ พันตำรวจโททักษิณที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าอาศัยอำนาจทางการเมืองเอื้อต่อธุรกิจของตระกูลนั้น พบว่าระดับราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปก็มีการขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่ากรณีที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในชินคอร์ปจำนวน 20 ล้านหุ้น ซึ่งได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็กไปพร้อมกับครอบครัวนั้น ในช่วงเดือนธันวาคม 2548-มกราคม 2549 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจรจาการซื้อขายหุ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วงเดือนเศษได้มีการเทขายหุ้น ADVANC ออกมาถึง 11 ครั้ง เป็นจำนวน 278,400 หุ้น ในระดับราคาตั้งแต่ 101-113 บาทต่อหุ้น ในกรณีนี้ถือเป็นข้อกังขาว่า ยิ่งลักษณ์ใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือไม่ เพราะยิ่งลักษณ์เป็นหนึ่งในผู้ที่ตกลงขายหุ้นให้กับเทมาเส็กยอมรับทราบข้อมูลการเจรจาตกลงเป็นอย่างดี การที่ขายหุ้น ADVANC อย่างต่อเนื่องเช่นนั้นในขณะที่ต่อมาทางกลุ่มผู้ซื้อได้ประกาศทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น ADVANC ในราคาเพียงหุ้นละ 72.31 บาท
หุ้นเอสซี แอสเซต
ใน พ.ศ. 2543 มีการขายหุ้นบริษัทเอสซี แอสเซตและบริษัทในครอบครัวชินวัตรอีก 5 แห่งให้บริษัท วินมาร์ค จำกัด (Win Mark Limited) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2546 บริษัทวินมาร์คโอนหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสททั้งหมดให้กองทุนรวมแวลูอินเวสเมนท์ (Value Investment Mutual Fund Inc.) หรือวีไอเอฟ และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 วีไอเอฟได้โอนหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสททั้งหมดให้กองทุนโอเวอร์ซีส์โกรวธ์ (Overseas Growth Fund Inc.) หรือโอจีเอฟ และกองทุนออฟชอร์ไดนามิค (Offshore Dynamic Fund Inc.) หรือโอดีเอฟ
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546 วีไอเอฟสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทเอสซี แอสเสทในราคาพาร์ให้บุตรสาว 2 คนของ พันตำรวจโททักษิณ ทั้งที่ในการประชุมครั้งเดียวกันนั้นมีวาระให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เป็นเหตุให้วีไอเอฟต้องเสียผลประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2547 บริษัทวินมาร์คขายหุ้นบริษัทในครอบครัวชินวัตร 5 แห่งให้พิณทองทา ชินวัตรและบริษัทของครอบครัวชินวัตรอื่นอีก 2 บริษัท รวมเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทวินมาร์คไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุน ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสงสัยว่าบริษัทวินมาร์ค วีไอเอฟ โอจีเอฟ และโอดีเอฟอาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (นอมินี) ของ พันตำรวจโททักษิณและครอบครัว อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าความเป็นธุรกิจของตระกูลชินวัตรกับความวุ่นวายของคดีความซุกหุ้นที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเอสซี แอสเสทหรือไม่ ยิ่งลักษณ์ตอบว่า "90% ของลูกค้าที่เข้าชมโครงการรับรู้อยู่แล้วว่าธุรกิจเราเป็นของใครตั้งแต่ทำมา เพิ่งมีลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ขอเงินคืน หลังจากที่รู้ว่าเราเป็นใคร เพราะไม่มั่นใจว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร"
ยิ่งลักษณ์ยังถูกกล่าวหาว่าได้ช่วย พันตำรวจโททักษิณชินวัตรปกปิดทรัพย์สิน โดยยิ่งลักษณ์ได้รับหุ้นของชินคอร์ป 0.68% จาก ทั้งหมด 46.87% ที่พันตำรวจโททักษิณและภริยาของเขาถือใน พ.ศ. 2542 และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ระบุว่ายิ่งลักษณ์ได้ทำธุรกรรมเท็จ โดยยิ่งลักษณ์กล่าวว่า "ครอบครัวของเธอได้เป็นเหยื่อทางการเมือง"

การประมูลโครงการรัฐโดยเอ็ม ลิงก์

บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรบริหารอยู่นั้น เข้าประมูลโครงการของรัฐบาลด้านการสื่อสาร และอินดัสเทรียล ปาร์ค ในขณะที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2547-49

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • Order of the Crown of Thailand - 5th Class (Thailand) ribbon.png เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
  • Order of the White Elephant - 5th Class (Thailand) ribbon.png เบญจมาภรณ์ช้างเผือก

โยคะเพื่อสุขภาพ


โยคะเพื่อสุขภาพ


   คุณทราบไหมว่า...หลายพันปีมาแล้ว ชาวตะวันออก เช่น ชาวจีนและชาวอินเดียโบราณ ค้นพบวิธีรักษาร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จากกิริยาท่าทางของสัตว์ในป่าลึกว่า มีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง แล้วประดิษฐ์เป็นท่าโยคะออกมาได้หลายพันท่า หลาย ๆ ท่ามีชื่อเรียกตามชนิดสัตว์ อาทิ ท่าปลา ท่านกยูง ท่างูเห่า ฯลฯ


   ทุกวันนี้ โยคะ (Yoga)ได้กลายมาเป็นวิธีการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกในการช่วยเสริมสร้างร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ช่วยป้องกันและรักษาโรคได้ อาทิ ปวดเข่า ปวดหลัง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไปจนถึงอาจรักษาโรคที่เป็นหนักก็ได้ เพราะหลักการของโยคะอยู่ที่ เมื่อจิตใจสดชื่นแจ่มใสร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ทำให้โรคภัยไข้เจ็บหนีหาย มีภูมิคุ้มกันโรคสูง


   หลายปีก่อน ผู้เขียนมีโอกาสเรียนการบริหารร่างกายด้วยวิธีนี้มาจาก ท่านอาจารย์ชด หัศบำเรอ (ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว) ปรมาจารย์ด้านโยคะ ซึ่งร่ำเรียนมาจากโยคีตนหนึ่งที่อินเดีย และพบว่า ศาสตร์แขนงนี้สามารถป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ซึ่งตรงกับแนวโน้มของวงการแพทย์สมัยใหม่เป็นอย่างดีนั่นเอง


   เพราะปัจจุบัน วงการแพทย์สมัยใหม่หันมาเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง มากกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วยแล้ว พูดตามพุทธภาษิตที่กล่าวไว้ว่า "อโรคยา ปรมา ลาภา" ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นั่นเอง


   ดังนั้น ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำศาสตร์และวิทยาการของคนโบราณที่น่าสนใจนี้มาเผยแพร่ให้คุณทราบ เพื่อฝึกร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลไปถึงอะไรอีกหลาย ๆ ด้าน โยคะ แตกต่างจากการออกกำลังกายแบบอื่น สามารถปฏิบัติได้ทุกเพศทุกวัย ลูกชายอายุ 10 ขวบ ของผู้เขียนปฏิบัติโยคะก่อนการเล่นเทนนิส เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและเพิ่มความคล่องตัวในการเล่นกีฬา แต่ก่อนจะเริ่มการบริหารร่างกายด้วยโยคะ เราควรทำความเข้าใจกับหลักของโยคะเสียก่อน


   โยคะเป็นการออกกำลังกายที่สามารถปฏิบัติได้ทุกสถานที่ที่ต้องการไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ ช่วย สวมเสื้อผ้าที่สบายเพื่อความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว (หรือจะไม่สวมเลยเช่นโยคีผู้ค้นคิดก็ได้) ขณะบริหารท่าโยคะ ที่เรียกกันว่า อาสนะ ต้องรักษาจังหวะการหายใจควบคู่กับจังหวะร่างกาย (แต่สำหรับเด็กเล็กยังไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมลมหายใจได้ ให้ทำท่าให้ถูกต้องก็พอ)


   จุดสำคัญของการฝึกโยคะ คือ ผ่อนคลายจิตใจที่หมกมุ่นสับสน ให้มารวมอยู่กับการออกกำลังกายทำให้เกิดเป็นสมาธิขึ้น สิ่งที่ทำให้โยคะต่างไปจากการออกกำลังกายอื่นก็คือ เมื่อทำแล้ว ร่างกายและจิตใจได้รับการพักผ่อนเต็มที่หลังการปฏิบัติ คุณจะรู้สึกได้ว่าร่างกายเบา จิตใจแจ่มใส


   การรับประทานอาหารถูกต้องควบคู่ไปกับการฝึกโยคะ จะทำให้การฝึกได้ผลดีขึ้นโดยยึดหลักโภชนาการที่ถูกต้อง การบริโภคอาหารที่มากเกินไป มันก็คือ ยาพิษ นั่นเอง การควบคุมอาหารควบคู่ไปกับการฝึกโยคะนั้น หลายคนทำได้หลาย ๆ แต่หลายคนอาจยากที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคจนไม่คิดจะฝึก แต่นั่นไม่ได้บังคับให้ "ต้อง" ทำ คุณอาจยังคงนิสัยการบริโภคแบบเดิมอยู่ได้ แต่เมื่อฝึกโยคะไปสักระยะหนึ่งแล้วพฤติกรรมการบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปเองโดยอัตโนมัติ เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น บางคนอาจเลิกสิ่งเสพติดทั้งหลายได้เลย เช่น เลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นต้น


   ทั้งนี้ ตามหลักวิชาการของโยคะที่ รศ.ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล ผู้ฝึกโยคะมานานนับสิบปี เคยกล่าวไว้นั้น ช่วยอธิบายให้เข้าใจลึกลงไปอีกว่าคนทั่วไปมักมองโยคะที่ท่าทางยาก ๆ ประเภทหัวลงดิน ตีนชี้ฟ้า แต่ โยคะที่แท้จริง แปลว่า "Easy Posture" เป็นท่าง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้อย่างไม่ยากเย็นนัก การฝึกโยคะนอกเหนือจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมส่วน เลือดลมเดินสะดวกเหมือนการออกกำลังกายวิธีอื่นแล้วยังช่วยบริหารต่อมไร้ท่อในร่างกาย


   โยคีโบราณพบว่าร่างกายคนเรามีต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนออกมา อันเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออารมณ์ต่อความรู้สึกของคนเรา การฝึกโยคะจะช่วยบริหารต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานสมดุลกัน ดังนั้น โดยหลักของโยคะ จะมีผลต่อการควบคุมสภาพจิตใจและอารมณ์ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของโยคะ มิได้อยู่ที่ "ท่าทาง" หากอยู่ที่ "ลมหายใจและความคิด" ในขณะที่ทำ ยกตัวอย่างเช่นการหายใจเข้า รับเอาพลังความรักเข้ามาสู่ตัวเรา หายใจออก เอาความเหนื่อยล้า ความเครียดออกไปจากตัวเรา ต้องคิดแต่สิ่งดี ๆ จิตใจก็จะสงบไม่ ยุ่งเหยิง เหตุที่โยคะเป็นท่าที่ต้องทำพร้อมกับควบคุมลมหายใจ การจดจ่อกับท่าทาง และการหายใจ ทำให้ใจคอว่อกแว่กยาก จึงส่งผลก่อให้เกิดเป็น สมาธิ สติ เป็นการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจไปด้วยพร้อม ๆ กัน


   เป้าหมายสูงสุดจริง ๆ ของโยคะ คือ


- Physical Fit ร่างกายแข็งแรง
- Mentally Strong จิตใจเข้มแข็ง
- Spiritual Elevated มีสปิริต มีจิตใจที่เปิดกว้าง


   นี้คือหลัก 3 ประการของโยคะ ซึ่งจะส่งผลต่อไปถึงอาชีพการงาน และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น อ่านมาถึงตรงนี้ คุณอาจชักจะท้อใจว่า การฝึกโยคะเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมเสียก่อน แต่ทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้น


   คุณอาจเริ่มครั้งแรกในเวลาว่างเพียง 5 นาที แรก ๆ อาจขลุกขลัก ไม่เห็นผล แต่ขอให้ลองไปอีก 2-3 ครั้ง ฝึกแบบรีแล็กซ์ ผ่อนคลายอาจเปิดเพลงเบา ๆ คลอไปด้วยก็ได้ คุณจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นจิตใจและสมองแจ่มใสขึ้น ก็จะเกิดกำลังใจทำต่อ เพิ่มเวลาไปเรื่อย ๆ 10 นาที 15 นาที เรียกว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับคุณ


   หากการจะเริ่มต้นที่ดีจริง ๆ คุณอาจต้องการคำแนะนำชี้แนะจากผู้รู้จริงหรือเคยฝึกปฏิบัติมาก่อน เพราะหากฝึกแบบผิด ๆ อาจเจ็บตัวจนเข็ดไปเลยก็ได้ หรือการฝึกแบบลองผิดลองถูก บางครั้งลองผิดมานานชินกับท่าที่ผิดไปแล้ว การแก้ไขให้ถูกต้องอาจยากยิ่งกว่าคนไม่เป็นเริ่มต้นฝึกก็ได้


   เมื่อคุณฝึกโยคะด้วยความรู้สึกสนุกเห็นผลเบื้องต้นในแง่บวก จนคุณฝึกต่อไปเรื่อย ๆ เป็นกิจวัตรที่ขาดเสียมิได้ ผลอื่น ๆ จะตามมามากมายคือ สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จิตใจของเรามีส่วนสัมพันธ์กับร่างกาย ถ้าเครียดมาก จิตใจวุ่นวาย ภูมิคุ้มกันร่างกายจะน้อยลง สามารถเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย หายสุขภาพจิตดี ร่างกายก็สร้างภูมิคุ้มกันโรคดี อีกทั้งการฝึกโยคะ เป็นการบริหารร่างกายให้แข็งแรง บริหารการทำงานของต่อมไร้ท่อให้สมดุลกัน โรคภัยไข้เจ็บก็จะไม่กล้ำกรายมาใกล้คุณเลย

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เกณฑ์กำกับดูแลธุรกิจการเงินที่สำคัญสรุปได้ดังนี้

เกณฑ์กำกับดูแลธุรกิจการเงินที่สำคัญสรุปได้ดังนี้

1. การให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
    ธนาคารพาณิชย์มี 4 ประเภท คือ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (Retail Bank) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ (Subsidiary) และสาขาของธนาคารต่างประเทศ (Branch)
การกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ พิจารณาจากความเหมาะสมของโครงสร้างผู้ถือหุ้น
และแหล่งที่มาของเงินทุน แผนงานและการควบคุมภายใน รวมถึงข้อกำหนดของคุณสมบัติที่จำเป็นและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ และผู้บริหาร และในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นธนาคารต่างประเทศ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้กำกับในประเทศของตนให้ทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศอื่นได้

2. ขอบเขตธุรกิจของธนาคารพาณิชย์
    นอกเหนือจากธุรกิจพื้นฐานของธนาคารพาณิชย์ เช่น การรับฝากเงิน และการให้สินเชื่อ เป็นต้น ธปท. ยังอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์
ประกอบ "ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการธนาคารพาณิชย์" โดยพิจารณาจากความเสี่ยงของธุรกรรม การบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินและประโยชน์จากการให้บริการ โดยธุรกิจที่ ธปท. อนุญาตเพิ่มเติม 5 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ หลักทรัพย์ ธุรกิจอนุพันธ์ทางการเงิน ธุรกิจธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-banking) ธุรกิจการเงินและธุรกิจการให้บริการอื่น

3. การกำกับแบบรวมกลุ่ม
    ปัจจุบันสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ได้มีการดำเนินธุรกิจแบบเครือข่าย หรือกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ซึ่งก่อให้เกิด
ความเสี่ยงทางธุรกิจเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการประกอบธุรกิจตามปกติ การกำกับดูแลสถาบันการเงินแบบองค์กรเดี่ยว (Solo Basis)
อาจไม่เพียงพอ ธปท. จึงได้ขยายขอบเขตการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงกลุ่มธุรกิจทางการเงิน โดยปัจจุบัน ธปท. ได้เริ่มใช้การกำกับดูแล
แบบรวมกลุ่ม (Consolidated Supervision) กับธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศก่อนซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนดให้โครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจาก ธปท. ก่อนและต้องดำรงเงินกองทุนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 8.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงของทั้งกลุ่ม รวมทั้งปฏิบัติตามเกณฑ์เชิงคุณภาพ เช่น การจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุม
ภายในของกลุ่มธุรกิจที่เพียงพอ รวมทั้งดูแลกลุ่มธุรกิจให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆ ของ ธปท. และนโยบายของบริษัทแม่ และส่งข้อมูล
ของกลุ่มฯให้ ธปท. ตรวจสอบ เป็นต้น
นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้ธุรกรรมมีการกระจุกตัว ธปท. จึงกำหนดให้กลุ่มฯ ดูแลการให้สินเชื่อและก่อภาระผูกพันกับบุคคลภายนอกหรือกลุ่ม
ของบุคคลภายนอก (Large Exposure) และบริษัทภายในกลุ่ม (Intragroup Transaction)ไม่เกินอัตราที่ ธปท. กำหนดและ
ต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีธรรมาภิบาลที่ดี

4. ความเสี่ยงด้านเครดิต
    ความเสี่ยงด้านเครดิต หมายถึง ความเสี่ยงที่ลูกหนี้หรือคู่สัญญาของธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้
สินเชื่อ การลงทุน และการก่อภาระผูกพัน เช่น ลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับธนาคารพาณิชย์ได้ ทำให้
ธนาคารพาณิชย์ในฐานะเจ้าหนี้เกิดความเสียหาย ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อฐานะความมั่นคง ความเชื่อมั่นและ
ชื่อเสียงของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งความเสี่ยงด้านเครดิตจะมีความรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินเชื่อและเงินลงทุน ดังนั้น
ธนาคารพาณิชย์จึงจำเป็นต้องมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
ธปท. จึงมีการกำหนดแนวนโยบายเพื่อกำกับดูแลสินเชื่อตามความเสี่ยงที่แตกต่างกัน รวมถึงแนวนโยบายด้านคุณภาพสินเชื่อเพื่อให้
ธนาคารพาณิชย์มีการพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เพื่อให้มีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม ธปท. จึงได้
กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับลูกหนี้รายใหญ่ การให้สินเชื่อและลงทุนในกิจการที่ธนาคารพาณิชย์มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
(Related Lending) และการกำกับการลงทุน
นอกจากนี้ ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีสาขากระจายอยู่ในหลายประเทศและมีการทำธุรกรรมกับคู่สัญญาในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
ธปท. จึงได้กำหนดให้ คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์จัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา และให้
ธนาคารพาณิชย์ประเมิน ควบคุม และติดตามความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
นอกเหนือจากแนวทางข้างต้นแล้ว ธปท. ยังได้มีการกำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ทั้งกรณีที่ผู้ประกอบ
ธุรกิจเป็นสถาบันการเงินและมิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) เพื่อให้การกำกับมีมาตรฐานเดียวกันและเป็นการดูแลหนี้ภาคครัวเรือน
ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

5. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
    ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญา เนื่องจาก
ไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ทันเวลา หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถจัดหาเงินทุนได้แต่ด้วยต้นทุนที่สูง
เกินกว่าจะยอมรับได้ ซึ่งหากกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นอาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น จนผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินฝากหรือเจ้าหนี้เรียกหนี้สินคืน
ก่อนครบกำหนด ซึ่งจะยิ่งทำให้ขาดสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น จนทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้น ธปท.
จึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินฝากทุกประเภท เงินกู้ยืมระยะสั้น
จากต่างประเทศ และเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง และให้คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์จัดทำนโยบายและแผนการบริหาร สภาพคล่อง

6. ความเสี่ยงด้านตลาด
    ความเสี่ยงด้านตลาด หมายถึง ความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์อาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สินและ
ภาระผูกพัน อันเกิดจากความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ธปท. จึงมีแนวทาง
การกำกับดูแล ดังนี้
1. กำหนดแนวนโยบายการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านตลาด เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีการจัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด
ที่เหมาะสม มีการประเมินความเสี่ยงและดำรงเงินกองทุนเพื่อรองรับ (1) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและด้านราคาตราสารทุนใน
บัญชีเพื่อค้า (Trading Book) และ (2) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในทุกบัญชี ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์
มีทางเลือก 3 วิธีในการประเมินความเสี่ยงด้านตลาดเพื่อดำรงเงินกองทุน ได้แก่ Standardized Approach, Internal Model
Approach และ Mixed Approach
2. กำหนดหลักเกณฑ์การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม
และสามารถสะท้อนความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 . กำหนดแนวนโยบายกำกับดูแลความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร (Banking Book) เพื่อให้สถาบันการเงินต้องประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย และจัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคาร

7. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
    ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดธรรมาภิบาลและการขาดการควบคุมที่ดี
โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงาน คน ระบบงาน หรือเหตุการณ์ภายนอก และส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน รายได้ เงินกองทุน
และชื่อเสียงของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมายด้วย ดังนั้น ธปท. จึงส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม
แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ พัฒนาระบบข้อมูลความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
การใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่น หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้าน IT และแนวนโยบายเพื่อการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน
และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
นอกจากนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า หากมีเหตุการณ์ให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ หน่วยงานสำคัญ (Critical Business Functions)
จะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องหรือกลับมาดำเนินการได้ในเวลาที่เหมาะสม ธปท. จึงออกแนวปฏิบัติ เรื่อง การบริหารความต่อเนื่อง
ทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) และการจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) รวมถึง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนฉุกเฉินด้าน IT และจัดให้มีระบบคอมพิวเตอร์สำรองนอก อาคารที่ตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก

8. เงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยง
    สถาบันการเงินจำเป็นต้องมีเงินกองทุนเพียงพอสำหรับรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การให้สินเชื่อ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงหรือการก่อภาระผูกพันต่าง ๆ เป็นต้น เงินกองทุนจะช่วยรองรับมิให้ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นมากระทบต่อผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของระบบธนาคารพาณิชย์ ธปท. จึงกำหนดแนวทางการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ใน 2 ด้าน คือ ด้านคุณภาพขององค์ประกอบของเงินกองทุน และด้านความเพียงพอของเงินกองทุน
ด้านที่ 1 ได้แก่ คุณภาพและองค์ประกอบของเงินกองทุน โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ เงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือเงินกองทุนหลัก (Core Capital) ได้แก่ ทุนที่ชำระแล้ว เป็นต้น และ เงินกองทุนชั้นที่ 2 หรือเงินกองทุนส่วนเพิ่ม (Supplement Capital) ได้แก่ เงินสำรองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินและอาคาร
ด้านที่ 2 ได้แก่ ความเพียงพอของเงินกองทุน ซึ่ง ธปท.ใช้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) เป็นเครื่องมือวัด
ความเพียงพอของเงินกองทุนโดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ไทย ดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่ต่ำกว่า 8.5% ทั้งนี้ ตามหลักการ Basel I เงินกองทุนใช้ในการรองรับความเสี่ยงในงบการเงินซึ่งคลอบคลุมถึงความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านตลาด และเพื่อให้สามารถสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้น Basel II จึงได้เพิ่มเรื่องความเสี่ยงด้านปฏิบัติการด้วย

9. การคุ้มครองผู้บริโภค
    เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกใช้บริการ และมีหลักฐานการชำระเงินที่สามารถตรวจสอบได้ ธปท. จึงกำหนดเงื่อนไขให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) เปิดเผยข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้สินเชื่อ และอัตรา
ค่าธรรมเนียม ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด นอกจากนี้ BOT Website ยังเผยแพร่ข้อมูลเปรียบเทียบสำหรับค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย
5 ประเภท คือ ค่ารักษาบัญชีที่เป็นเงินบาท ธุรกรรมฝาก-ถอน-โอนเงินสด บัตรเครดิต สินเชื่อและธุรกรรมเกี่ยวกับเช็ค
นอกจากนี้ ธปท. ได้ออกแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ให้สถาบันการเงินและ Non-Bank เพื่อให้การติดตามทวงถามหนี้มีมาตรฐานเดียวกันและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน

10. ธรรมาภิบาล
      ธรรมาภิบาลเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้การดำเนินการของธนาคารพาณิชย์มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และน่าเชื่อถือ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มมูลค่าในกิจการ และความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ในระยะยาว ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญที่เกี่ยวข้อง
กับธรรมาภิบาลของธนาคารพาณิชย์มุ่งเน้นเรื่อง บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โครงสร้างของคณะกรรมการ การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส ซึ่งจะเอื้อต่อบทบาทของตลาดในการกำกับตรวจสอบการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์อันเป็นพื้นฐานของระบบวินัยจากตลาด (Market Discipline) นอกจากนี้ ธปท.ยังได้จัดทำคู่มือสำหรับกรรมการสถาบันการเงินที่ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักธรรมาภิบาล (สามารถดูได้จาก Website ของ ธปท.)

11. มาตรฐานการบัญชี
      สถาบันการเงินต้องบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดย ธปท. ซึ่งในบางกรณี ธปท. อาจกำหนดหลักเกณฑ์การบันทึกบัญชีสำหรับรายการที่เป็นการเฉพาะสำหรับธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ โดยให้มีหลักการ สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีหรือกำหนดแนวปฏิบัติในเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดไว้ เพื่อให้ การแสดงรายการในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลมีความเพียงพอและโปร่งใส ซึ่งช่วยให้นักลงทุน และผู้ใช้งบการเงินมีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ

12. มาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
      โดยหลักการของการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นที่รับฝากเงินจากประชาชนนั้น ธปท.มีจุดมุ่งหมายให้สถาบันการเงิน
มีเสถียรภาพ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสถาบันการเงินจะเสียหายไม่ได้ แต่ความเสียหายนั้น ควรจำกัดให้อยู่ในวงแคบหรือมีผลกระทบต่อประชาชนโดยรวมน้อยที่สุด
กฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ได้บัญญัติให้อำนาจแก่ ธปท. และกระทรวงการคลังในการแก้ไขจัดการสถาบันการเงินที่มีฐานะหรือการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ซึ่งมาตรการดังกล่าว ได้แก่ การสั่งให้สถาบันการเงินระงับการดำเนินการบางส่วนหรือทั้งหมด แก้ไขฐานะหรือการดำเนินงาน การสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุน/ลดทุนถอดถอนผู้บริหารสถาบันการเงินนั้น หรือสั่งควบคุมกิจการ รวมถึงการสั่งเลิกกิจการหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เพื่อทำให้ทางการสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที อันจะเป็นการป้องกันปัญหาไม่ให้ลุกลามหรือกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และสร้างความเสียหายรุนแรงให้แก่ผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยทางการจะมีมาตรการดูแลผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน ในกรณีประเทศไทยที่ผ่านมากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะคุ้มครอง
ผู้ฝากเงินตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของกองทุนฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ฝากเงินและดูแลเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน