ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(ชื่อเล่น: ปู) (21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28, คนปัจจุบัน และหญิงคนแรกของประเทศไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสังกัดพรรคเพื่อไทย
ยิ่งลักษณ์ เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งคู่ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัท เอสซีแอสเซต จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)
ยิ่งลักษณ์ เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งคู่ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัท เอสซีแอสเซต จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม
ทว่ายิ่งลักษณ์กลับไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยทันที เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในวันดังกล่าว และหลังจากนั้นอีกสามวัน จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม
ครอบครัว
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 10 คน ของ เลิศ ชินวัตร และยินดี ชินวัตร (ธิดาในเจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงวงศ์) โดยเคยติดตามเลิศ ชินวัตร ในสมัยที่บิดาหาเสียงในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเยาวลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ยิ่งลักษณ์ ใช้ชีวิตคู่โดยไม่ได้จดทะเบียนกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและอดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนชื่อ ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือไปค์
การศึกษา
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533
การทำงาน
เมื่อปี พ.ศ. 2534 ยิ่งลักษณ์ได้เข้าทำงานที่บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จนกระทั่งสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา จากนั้น พ.ศ. 2537 จึงเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เน22ชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2545 เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้าย
หลังจากตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้นเธอได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2548 เพื่อบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของตระกูล โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนบุษบา ดามาพงศ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เคยตำแหน่งที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศ ของวุฒิสภา ปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม
การเมือง
พรรคเพื่อไทยนับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งพรรคเพื่อไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ยิ่งลักษณ์ได้กลายมาเป็นตัวเลือกแรกของพันตำรวจโททักษิณที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ได้ปฏิเสธตำแหน่งโดยกล่าวว่าตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรีและเพียงต้องการแต่สนใจทำธุรกิจของตนเท่านั้น เธอกล่าวว่าเธอเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้งเฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น ยงยุทธ วิชัยดิษฐจึงได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแทน
การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2554 เปิดเผยว่าระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 อดีตรองนายกรัฐมนตรีและ "พันธมิตรใกล้ชิดกับพันตำรวจโททักษิณ" สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กล่าวแก่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย อีริก จอห์น ว่าเขาไม่ได้คิดว่ายิ่งลักษณ์จะมีบทบาทสำคัญในพรรคเพื่อไทย และว่า "ตัวทักษิณเองไม่ได้กระตือรือร้นที่จะยกเธอให้สูงขึ้นภายในพรรค และมุ่งให้ความสำคัญในการหาทางให้เขายังมีส่วนร่วมในทางการเมืองอยู่มากกว่า" อย่างไรก็ตาม โทรเลขภายในต่อมา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เอกอัครราชทูตหมายเหตุว่าในการประชุมกับยิ่งลักษณ์ เธอพูดด้วยความมั่นใจเกี่ยวกับ "ปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย" ของพรรคเพื่อไทย และดูเหมือนว่าจะมี "ความมั่นใจมาก" ขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อนมาก โทรเลขภายในอ้างถึงยิ่งลักษณ์โดยกล่าวว่า "บางคนสามารถปรากฏออกมาค่อนข้างช้าในเกมเพื่อจะควบคุมพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป"
ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย
ปลายปี พ.ศ. 2553 ยงยุทธได้แสดงเจตจำนงว่าจะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค การคาดการณ์ว่าจะมีการเลือกตั้งกระทันหันในช่วงต้นปี พ.ศ. 2554 ได้เพิ่มการโต้เถียงภายในพรรคเกี่ยวกับตัวผู้ที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ตัวเต็งคือยิ่งลักษณ์กับมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้ซึ่งนำการอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลผสมซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ยังคงไม่ยอมรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยย้ำว่าเธอต้องการมุ่งความสนใจไปยังการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตามเธอได้รับการหนุนหลังจากนักการเมืองอาวุโส เฉลิม อยู่บำรุง
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติเลือก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 1 ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตาม เธอยังไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคและไม่ได้เข้าร่วมกรรมการบริหารพรรค การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเป็นของพันตำรวจโททักษิณ โดยพันตำรวจโททักษิณให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า "เธอเป็นโคลนของผม" และ "เธอสามารถตอบ 'ใช่' หรือ 'ไม่' ในนามของผมได้"
ยิ่งลักษณ์ระบุว่าการออก พระราชบัญญัติอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมที่เสนอโดย ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุงนั้น "เป็นเพียงหลักและวิธีการ โดยหลักของส่วนนี้ต้องมาดูว่าจะได้อะไร และต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณา โดยมี ร้อยตำรวจเอกเฉลิม เป็นหัวเรือ" ร้อยตำรวจเอกเฉลิมระบุว่าความคิดนิรโทษกรรมไม่ได้ให้ พันตำรวจโททักษิณเพียงคนเดียว แต่จะให้ทุกคน
การรณรงค์เลือกตั้ง
ความปรองดองเป็นธีมหลักในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของยิ่งลักษณ์ หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่กินเวลามาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เธอสัญญาว่าจะให้อำนาจแก่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) คณะทำงานซึ่งรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนผู้เสียชีวิตในระหว่างการชุมนุมทางการเมือง คอป. เคยแสดงว่างานของคณะกรรมการถูกขัดขวางโดยทหารและรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ยังได้เสนอนิรโทษกรรมทั่วไปแก่อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเมืองทั้งหมดที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งรวมไปถึงรัฐประหารครั้งนั้นด้วย คำพิพากษาที่ห้ามมิให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และการยึดทำเนียบรัฐบาลและท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) การสลายการชุมนุมของทหารในปี พ.ศ. 2552 และ 2553 และการพิพากษาพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรว่าละเมิดอำนาจ ข้อเสนอดังก่าวถูกโจมตีอย่างรุนแรงโดยรัฐบาล ซึ่งกล่าวว่าอาจเป็นไปได้ว่าจะเป็นการนิรโทษกรรมเฉพาะพันตำรวจโททักษิณ และจะส่งผลให้เขาได้รับทรัพย์สินมูลค่า 46,000 ล้านบาทที่เคยถูกพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินคืน อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธว่าเธอไม่มีเจตนาจะนิรโทษกรรมแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง รัฐบาลยังได้กล่าวโทษพรรคเพื่อไทยว่าเป็นต้นเหตุของการนองเลือดระหว่างการสลายการชุมนุมของทหาร
ยิ่งลักษณ์ได้อธิบายวิสัยทัศน์ 2020 ว่าจะกำจัดความยากจน เธอสัญญาว่าจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% และลดถึง 20% ภายในปี พ.ศ. 2556 และเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน และค่าแรงขั้นต่ำสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน นโยบายด้านการเกษตรของเธอรวมไปถึงการเพิ่มกระแสเงินสุดจากการดำเนินงาน (operating cashflow) ให้แก่ชาวนา และจัดหาเงินกู้ที่สามารถกู้ได้มาที่สุดถึง 70% ของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ โดยอาศัยราคจำนำข้าว 15,000 บาทต่อตัน เธอยังได้วางแผนที่จะจัดเตรียมวายฟายสาธารณะและแท็บเบล็ดพีซีแก่เด็กนักเรียนทุกคน ซึ่งครั้งหนึ่งพรรคไทยรักไทยมีแผนที่จะทำ แต่ถูกยกเลิกไปเพราะรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549
โพลสำรวจความคิดเห็นก่อนการเลือกตั้งเกือบทั้งหมดทำว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะเหนือประชาธิปัตย์อย่างถล่มทลาย
ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล
ผลเอกซิตโพลชี้ว่าพรรคเพื่อไทยชนะอย่างถล่มทลาย โดยคาดว่าจะได้ที่นั่งสูงถึง 310 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ผลอย่างเป็นทางการออกมาว่าพรรคเพื่อไทยได้ 265 ที่นั่ง โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ 75.03% มีบัตรเสียจำนวน 3 ล้านบัตร ซึ่งจำนวนที่มากนี้ถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุของความแตกต่างระหว่างผลเอกซิตโพลกับการนับคะแนนอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้นที่พรรคการเมืองหนึ่งจะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าครึ่ง โดยครั้งแรกเป็นพรรคไทยรักไทยของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์จัดตั้งรัฐบาลผสมอย่างรวดเร็วกับพรรคชาติไทยพัฒนา (19 ที่นั่ง) ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (7 ที่นั่ง) พลังชล (7 ที่นั่ง) มหาชน (1 ที่นั่ง) และพรรคประชาธิปไตยใหม่ (1 ที่นั่ง) รวมแล้วมี 300 ที่นั่ง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ กล่าวว่าเขายอมรับผลการเลือกตั้ง และหลังจากที่ได้พูดคุยกับผู้บัญชาการเหล่าทัพแล้ว จะไม่เข้ามาแทรกแซงการเมือง ด้านผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งโดยปกติแล้วจะให้สัมภาษณ์วิจารณ์พรรคเพื่อไทย ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์ใดๆ
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- ดูบทความหลักที่ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 ของไทย
สภาผู้แทนราษฎรมีมติ 296 ต่อ 3 (งดออกเสียง 197 ไม่เข้าประชุม 4) เลือกยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแม้ว่าจะมีภารกิจเร่งด่วนหลายประการ ที่นายกรัฐมนตรีจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่รัฐบาลชุดก่อนวางเฉยต่อการช่วยเหลือประชาชน เพราะอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง แต่ทว่ายิ่งลักษณ์ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยทันที เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในวันดังกล่าว แม้ว่าข้าราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดเตรียมพิธีรับพระบรมราชโองการไว้พร้อมแล้ว ณ อาคารที่ทำการพรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันดังกล่าว ถัดมาอีกสามวัน จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม แต่ในพระบรมราชโองการลงวันที่ประกาศว่าเป็นวันที่ 5 สิงหาคม
ข้อวิพากษ์วิจารณ์อนึ่ง ในระหว่างนั้น วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินลงมาทรงปลูกต้นศรีตรัง พระราชทานแก่โรงพยาบาลศิริราช
การซื้อขายหุ้นชินคอร์ป- ดูบทความหลักที่ กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป
พันตำรวจโททักษิณขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับ ยิ่งลักษณ์ เมื่อ พ.ศ. 2543 จำนวน 2 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท ซึ่งขณะนั้นราคาหุ้นดังกล่าวที่ซื้อขายกันในตลาดมีมูลค่า 150 บาท ทำให้ ยิ่งลักษณ์ได้ผลประโยชน์หรือส่วนต่างประมาณ 280 ล้านบาท โดยเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ส.ว.กทม. ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาสอบสวนเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตในขณะนั้น แถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548 ว่า "จากการคำนวณของกรรมาธิการฯ พบว่ากรณียิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อช่วงเดือนกันยายน ปี 2543 จะต้องเสียภาษีและเบี้ยปรับประมาณล้าน 300 ล้านบาท รวมทั้งหมดที่ต้องเสียภาษีและค่าปรับจนถึงวันที่ 30 กันยายน ปี 2548 เป็นเงิน 4,330 ล้านบาท"
ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปครั้งประวัติศาสตร์กว่า 70,000 ล้านบาท ให้กับกลุ่มเทมาเส็กเพื่อขจัดข้อครหาผลประโยชน์แฝงในการบริหารประเทศของ พันตำรวจโททักษิณที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าอาศัยอำนาจทางการเมืองเอื้อต่อธุรกิจของตระกูลนั้น พบว่าระดับราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปก็มีการขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่ากรณีที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในชินคอร์ปจำนวน 20 ล้านหุ้น ซึ่งได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็กไปพร้อมกับครอบครัวนั้น ในช่วงเดือนธันวาคม 2548-มกราคม 2549 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจรจาการซื้อขายหุ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วงเดือนเศษได้มีการเทขายหุ้น ADVANC ออกมาถึง 11 ครั้ง เป็นจำนวน 278,400 หุ้น ในระดับราคาตั้งแต่ 101-113 บาทต่อหุ้น ในกรณีนี้ถือเป็นข้อกังขาว่า ยิ่งลักษณ์ใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือไม่ เพราะยิ่งลักษณ์เป็นหนึ่งในผู้ที่ตกลงขายหุ้นให้กับเทมาเส็กยอมรับทราบข้อมูลการเจรจาตกลงเป็นอย่างดี การที่ขายหุ้น ADVANC อย่างต่อเนื่องเช่นนั้นในขณะที่ต่อมาทางกลุ่มผู้ซื้อได้ประกาศทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น ADVANC ในราคาเพียงหุ้นละ 72.31 บาท
หุ้นเอสซี แอสเซตใน พ.ศ. 2543 มีการขายหุ้นบริษัทเอสซี แอสเซตและบริษัทในครอบครัวชินวัตรอีก 5 แห่งให้บริษัท วินมาร์ค จำกัด (Win Mark Limited) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2546 บริษัทวินมาร์คโอนหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสททั้งหมดให้กองทุนรวมแวลูอินเวสเมนท์ (Value Investment Mutual Fund Inc.) หรือวีไอเอฟ และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 วีไอเอฟได้โอนหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสททั้งหมดให้กองทุนโอเวอร์ซีส์โกรวธ์ (Overseas Growth Fund Inc.) หรือโอจีเอฟ และกองทุนออฟชอร์ไดนามิค (Offshore Dynamic Fund Inc.) หรือโอดีเอฟ
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546 วีไอเอฟสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทเอสซี แอสเสทในราคาพาร์ให้บุตรสาว 2 คนของ พันตำรวจโททักษิณ ทั้งที่ในการประชุมครั้งเดียวกันนั้นมีวาระให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เป็นเหตุให้วีไอเอฟต้องเสียผลประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2547 บริษัทวินมาร์คขายหุ้นบริษัทในครอบครัวชินวัตร 5 แห่งให้พิณทองทา ชินวัตรและบริษัทของครอบครัวชินวัตรอื่นอีก 2 บริษัท รวมเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทวินมาร์คไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุน ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสงสัยว่าบริษัทวินมาร์ค วีไอเอฟ โอจีเอฟ และโอดีเอฟอาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (นอมินี) ของ พันตำรวจโททักษิณและครอบครัว อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าความเป็นธุรกิจของตระกูลชินวัตรกับความวุ่นวายของคดีความซุกหุ้นที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเอสซี แอสเสทหรือไม่ ยิ่งลักษณ์ตอบว่า "90% ของลูกค้าที่เข้าชมโครงการรับรู้อยู่แล้วว่าธุรกิจเราเป็นของใครตั้งแต่ทำมา เพิ่งมีลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ขอเงินคืน หลังจากที่รู้ว่าเราเป็นใคร เพราะไม่มั่นใจว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร"
ยิ่งลักษณ์ยังถูกกล่าวหาว่าได้ช่วย พันตำรวจโททักษิณชินวัตรปกปิดทรัพย์สิน โดยยิ่งลักษณ์ได้รับหุ้นของชินคอร์ป 0.68% จาก ทั้งหมด 46.87% ที่พันตำรวจโททักษิณและภริยาของเขาถือใน พ.ศ. 2542 และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ระบุว่ายิ่งลักษณ์ได้ทำธุรกรรมเท็จ โดยยิ่งลักษณ์กล่าวว่า "ครอบครัวของเธอได้เป็นเหยื่อทางการเมือง"
การประมูลโครงการรัฐโดยเอ็ม ลิงก์
บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรบริหารอยู่นั้น เข้าประมูลโครงการของรัฐบาลด้านการสื่อสาร และอินดัสเทรียล ปาร์ค ในขณะที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2547-49
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น